ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาคงเห็นข่าวกันมาบ้างแล้วว่า… มีประกาศคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเพิกถอนยาที่มี “พาราเซตามอล” เป็นส่วนประกอบไปทั้งสิ้น 25 ตำรับด้วยกัน เนื่องจากมีการใช้ยาซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลร้ายต่อตับ และร่างกายของผู้บริโภค แต่!! ไม่ต้องตกใจไปว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นอันตรายต่อร่างกายนะหากใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม แว่นใสจึงขอมาแจ้งให้ทราบกันอย่างถ้วนหน้าเพื่อให้การกินยามีประสิทธิภาพ ไม่กินซ้ำซ้อน และรู้ว่ายาตัวไหนบ้างที่ถูกเพิกถอนไป
พารากินเยอะ เสี่ยงตับพัง
“พาราเซตามอล” หรือ อะเซตามิโนเฟน ยาประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมี และหาซื้อได้ง่าย ปวดนิดปวดหน่อย เป็นไข้ต้องพึ่งพาราฯกันแล้ว ซึ่งข้อดีของพาราฯนั้นคือ กินแล้วไม่ระคายเคืองกระเพาะ แต่! หารู้ไม่ว่ากินพาราฯพร่ำเพรื่อ หรือกินเกินขนาดส่งผลร้ายมากกว่าที่คิดเลยแหละ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคตับจะยิ่งไปเพิ่มโอกาสให้เกิดภาวะตับเป็นพิษ และอาการตับวายเฉียบพลัน และรวมถึงผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคตับแต่กินพาราฯบ่อยเกินไป กินซ้ำซ้อนอาจทำให้มีปัญหาดื้อยา ยาเป็นพิษต่อตับจนถึงขั้นเสี่ยงตับพัง และเกิดภาวะตับอักเสบด้วย
การทานยาให้เหมาะสมกับอาการเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการทานยาพร่ำเพรื่อ คือ ทานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือ ทุก 50 กก. ทาน 1 เม็ด ถ้าอย่างคนที่น้ำหนัก 75 กก.ให้ทาน 1 เม็ดครึ่ง เป็นต้น และไม่ควรทานเกิน 4,000 มก. หรือ 8 เม็ด/วัน ซึ่งยาพาราเซตามอลส่วนใหญ่รวมถึงยาอื่นๆที่มีส่วนผสมของพาราฯด้วยนั้นจะมีขนาด 500 มก. อยู่แล้ว ฉะนั้นก่อนทานยาที่ไม่ใช่พาราเซตามอลควรดูฉลากก่อนว่ามีส่วนผสมของพาราหรือไม่ ถ้ามีเราไม่ควรซื้อพาราฯมากินเพิ่มอีกเพื่อความปลอดภัยของร่างกายเราเองจะได้ไม่เป็นการทานยาพร่ำเพรื่อ และเสี่ยงต่อตับอักเสบภายหลัง
โบกมือลายา 25 ตำรับ
ตำรับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทานนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ผู้ผลิต และนำเข้ายาแก้ไขฉลาก และเอกสารกำกับยาเรื่องขนาดการรับประทานยาเพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่ายาชนิดนี้มีพาราฯอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อยาพาราฯมากินเพิ่มอีกเพื่อไม่ให้เป็นการกินยาซ้ำซ้อนเกินไป ซึ่งสามารถส่งผลร้ายต่อตับได้โดยตรง แต่ผู้ผลิตไม่ได้ทำการแก้ไขจึงได้ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาทั้ง 25 ตำรับด้วยกัน คือ
-
V - COLDTAC
-
SALICAP
-
V - COLDTAC
-
ORPHENTA
-
PARADROP
-
PHENACOLD
-
PONY SYRUP
-
PARANIC TABLETS
-
MICOLD
-
REDDY TABLET
-
UPCOPAN
-
CETAMOL
-
CODAMOL TABLETS (WHITE)
-
CODAMOL TABLETS
-
PARACETAMOL 325 MG. TABLETS
-
PARACETAMOL 325 MG TABLETS (WHITE)
-
PARACETAMOL 500 MG TABLETS (GREEN)
-
PARITER
-
CODAMOL
-
DAY TEMP PARACETAMOL 500
-
DAY TEMP PARACETAMOL 500
-
FARMARS(R) PARACETAMOL 500
-
CODARIN - A
-
CODATAB
-
KALA - SYRUP DROPS
แว่นใสมาแจ้งข่าวครั้งนี้ก็พอจะรู้กันบ้างแล้วนะว่ายาตัวไหนที่ถูกถอนทะเบียนยาออกไป และยาพาราเซตามอลควรทานขนาดเท่าไหร่เพื่อไม่ให้ส่งผลลบต่อร่างกาย และไม่ควรทานยาที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลแล้วทานยาพาราเพิ่มเข้าไปอีก ซึ่งเป็นการทานยาที่พร่ำเพรื่อเกินไป แถมเป็นการทานยาเกินขนาดที่อาการของโรคต้องการอีกด้วยนะ
ต่อไปนี้ก่อนทานยาให้อ่านฉลากก่อนและระวังเรื่องทานยาให้มากขึ้นนะคะ
ด้วยความเป็นห่วงจากแว่นใสเองค่ะ