ดูทีวีอย่างไร ไม่เสี่ยงอัมพฤกษ์
ข้อมูลจากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ ระบุว่า ท่านั่งดูทีวีที่ไม่เหมาะสม มีตั้งแต่ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน นั่งเอนหลังโดยใช้แผ่นหลังช่วงล่างรองรับน้ำหนักแทนก้นกบ หรือนั่งบนโซฟาที่นุ่มมากเกินไปจนก้นจมลงไป การเอนตัวกึ่งนั่งกึ่งนอน หาหมอนเรียงซ้อนกันหลายๆ ใบ หนุนหัวสูงเพื่อจะได้นอนเห็นทีวีชัดเจนบางรายแย่กว่านั้น ชอบนอนดูทีวีที่ตั้งอยู่ปลายเตียง ดังนั้น เมื่อทีวีตั้งอยู่ปลายเท้า ก็ต้องหนุนศีรษะให้สูงขึ้นๆ ยิ่งอันตรายมาก หากเผลอหลับในท่าเหล่านี้ พฤติกรรมท่านั่งนอนดูทีวีดังกล่าวล้วนส่งผลเสียต่อโครงสร้างร่างกาย เช่น มีอาการยึดรั้งของกล้ามเนื้อ อาการปวดเมื่อยตามลำตัว ปวดหลัง ปวดคอ ปวดศีรษะ ไมเกรน ชาตามปลายมือปลายเท้า ร่างกายขาดการรับรู้ความรู้สึกบางส่วน หรือที่เรียกว่า อัมพฤกษ์
ท่าที่ควรหลีกเลี่ยง
1. ท่านั่งกึ่งนอน และท่าเอนหลังมากๆ
ซึ่งความโค้งของหลังจะแอ่นนูนมาทางด้านหลัง ทำให้เส้นเอ็นต่างๆ ที่ขึงแนวกระดูกสันหลัง รวมถึงกล้ามเนื้อถูกยืดยาวออกจากระนาบปกติ ทำให้ขาดความมั่นคง เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท ปวดหลังปวดร้าวลงขา บางรายชาที่เท้าหรือนิ้วเท้า หรือ ในบางรายที่ร้ายแรงอาจมีอาการกดทับเส้นประสาทมีผลไม่ให้ไม่มีแรงของกล้ามเนื้อรู้จักกันดีในชื่อของ อาการอัมพฤกษ์
2.ท่านั่งพิงพนักและหนุนศีรษะให้สูงขึ้น
เป็นการบังคับคอของเราให้ถูกดันหรือก้มมาทางด้านหน้าตลอดเวลา ผลเสียคล้ายกับท่านั่งกึ่งนอน แต่ความเสียหายเกิดขึ้นที่แนวกระดูกช่วงคอหากอยู่ในท่านี้ประจำหรือ แอบหลับในท่าหนุนคอสูง จะเสี่ยงต่ออาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาทับเส้นประสาทคอ ปวดเรื้อรังที่คอ บ่า เสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ ชนิดยกแขนไม่ได้
3.ทุกท่าที่นั่งแล้วเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ
กับร่างกาย เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า เราใช้ร่างกายผิดท่าผิดทาง เมื่อเริ่มมีอาการ ควรใส่ใจต่อความเจ็บปวดหรืออาการที่ผิดปกตินั้น
นั่งอย่างไรให้เหมาะสม
1.ถ้านั่งดูทีวีจากโซฟา ควรเป็นโซฟาที่เราสามารถเอนหลังได้ ไม่นุ่มเกินไป
2.นั่งแล้วก้นไม่ยวบลงมากนัก
3.นั่งแล้วดันหลังให้ติดกับพนักพิง หรือหาหมอนมาวางดันหลังเอาไว้ เพื่อให้ตลอดทั้งหลังแนบไปกับโซฟา
4.ควรมีหมอนรองรับตั้งแต่ช่วงหัวไหล่จนถึงศีรษะ (ไม่ใช่ให้หมอนหนุนเพียงช่วงต้นคอ)
เรื่องที่คุณอาจสนใจ