เคล็ด(ไม่)ลับห่างไกลโรคทางมือ
โรคนิ้วล็อค เป็นโรคทางมือที่เกิดจากการกํามือแน่น งอนิ้วมือนานหรือซ้ำๆ ทําให้เส้นเอ็นและปลอกหุ้ม เส้นเอ็นที่ฝ่ามือมีแรงกระทําต่อกันมากจนเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น มักพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้มือทําากิจกรรมหยิบจับสิ่งของอยู่ตลอดเวลา เช่น หิ้วของหนัก บิดผ้าด้วยมือเปล่าจํานวนมากๆ หรือผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคในกลุ่มรูมาตอยด์ เป็นต้น แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ถ้าดูแลตนเอง อย่างถูกวิธี ซึ่งอาการของโรคนิ้วล็อคมีอยู่ 4 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 ปวดและกดเจ็บที่ปลอกหุ้มเส้นเอ็นตําแหน่งฝ่ามือ เคยงอเหยียดนิ้วแล้วสะดุด แต่ตรวจร่างกายอาจไม่พบว่าสะดุด
ระดับ 2 ตรวจพบการสะดุดเวลางอเหยียดนิ้ว แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วเองได้สุด
ระดับ 3 นิ้วติดล็อคต้องใช้มือช่วยเหยียด หรืองอจึงจะสุด
ระดับ 4 นิ้วติดล็อคไม่สามารถเหยียดนิ้วให้สุดได้
**เคล็ด(ไม่)ลับห่างไกลโรคทางมือ**
1. หลีกเลี่ยงการทํางานโดยการงอข้อมือ กํามือ หรือเกร็งข้อมือติดต่อกันนานๆ โดยควรหยุดพักการใช้งานมือทุก 15-25 นาทีใน 1 ชั่วโมง
2. ฝึกการใช้มือที่ถูกต้อง เช่น
- การเขียนหนังสือ ควรใช้ปากกาด้ามใหญ่และหมึกไหลลื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วจับปากกาแรง และกดกระดาษแรง
- การใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ ควรหาแผ่นรองเมาส์ ที่มีส่วนรองรับข้อมือ
- การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ควรพยายามยกข้อมือให้อยู่ระดับข้อศอก หรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย
3. ควบคุมน้ำหนักตัวและโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่
4. ผ่อนคลายอิริยาบถด้วยการบริหารมือและข้อมือ
**ผู้หญิงเป็นโรคนิ้วล็อคมากกว่าผู้ชาย 2-6 เท่า ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ อายุ 50-60 ปี และผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นโรคนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติถึง 4 เท่า! โดยร้อยละ 4 เป็นมากกว่าหนึ่งนิ้ว**
เรื่องที่คุณอาจสนใจ