ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ
ไตมีลักษณะเหมือนเมล็ดถั่วแดง อยู่สองข้างของเอว เป็นส่วนที่มีเส้นเลือดดำ และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่นำเลือดของร่างกายทั้งหมดมาคัดกรองเอาส่วนที่ต้องใช้เก็บไว้ และเอาส่วนเกินหรือส่วนที่ไม่ใช้ออกจากร่างกาย โดยเลือดทั้งหมดจะไหลผ่านเข้าสู่ไตไปที่เนื้อไต ซึ่งประกอบด้วยหน่วยกรองเล็ก ๆ มากมายภายในไต เรียกว่า “เนฟรอน” ซึ่งทำหน้าที่แยกน้ำ เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับเข้าไปในร่างกายต่อไป ส่วนน้ำ สารที่เป็นของเสียและสารต่าง ๆ ที่เกินจากที่ร่างกายต้องการใช้จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ แล้วรวบรวมเข้าสู่กรวยไต ซึ่งอยู่ในเนื้อไตเช่นกัน
ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม (Dark yellow) ไปจนถึง สีเหลืองอำพัน (Dark amber)
ถ้าเข้มไม่มากก็อาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อย หรือจากภาวะขาดน้ำ แต่ถ้าเข้มมากจนคล้ำอาจเกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบ โรคตับอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ ดีซ่าน การอุดกั้นทางเดินน้ำดี หรือมีน้ำดีออกมาในปัสสาวะ หรือเกิดจากโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากท่อน้ำดีในตับ โรคตับอ่อนอักเสบ โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
ปัสสาวะสีน้ำตาล
การทานถั่วในปริมาณมากสามารถทำให้ฉี่ของคุณกลายเป็นสีน้ำตาลได้ รวมถึงยาหลายชนิด แต่ในขณะเดียวกัน ฉี่สีน้ำตาลก็อาจหมายถึงลิ่มเลือดที่ปนออกมากับฉี่ หรือน้ำดีจากภาวะดีซ่านได้เช่นกัน
ปัสสาวะสีอมแดง
ก่อนที่จะแตกตื่น เพราะสีอันแสนน่ากลัวนี้ ให้ลองนึกดูให้ดีก่อนว่า เราได้ทานผักผลไม้ที่มีสีแดง เช่น แบล็กเบอร์รี่ บีทรูท หรือยาที่ส่งผลให้ฉี่มีสีแดงหรือไม่ ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้กินควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายแล้วล่ะ เพราะฉี่สีอมแดง คือ สัญญาณที่บอกว่า มีเม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดแตกมากกว่าปกติ และยังหมายถึงการมีเลือดออกบริเวณทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาการของโรคต่างๆ เช่น นิ่ว เนื้องอก การติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และยังหมายถึงว่าอวัยวะภายในร่างกายเกิดการฉีกขาดได้อีกด้วย
โรคทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่มาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ เกิดการอุดตัน และการติดเชื้อ โดยสาเหตุทั้งสองประการส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ
อาการของโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะที่เรียกว่า “ขัดเบา” คือ ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาทีละน้อยแต่บ่อย บางครั้งอาจถ่ายปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณท่อปัสสาวะทั้งขณะถ่ายปัสสาวะ และแม้ขณะไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ ลักษณะการถ่ายปัสสาวะจะผิดปกติ เช่น ในผู้ชาย ปัสสาวะจะออกมาเป็นหยด ลำปัสสาวะไม่พุ่ง เป็นต้น ในผู้หญิง ปัสสาวะจะออกเป็นหยดทีละนิด ปริมาณปัสสาวะอาจมากหรือน้อยผิดปกติ ตลอดจนถึงมีความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขุ่นขาวมีสีคล้ายน้ำนมที่เจือจาง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย บางรายปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง มีไข้ ซึ่งอาการที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลังหรือมีไข้นี้เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่าได้มีการติดเชื้อที่บริเวณไตแล้ว
นิ่วในกระเพาะทางเดินปัสสาวะ
"นิ่ว" เป็นก้อนของสารในร่วงกาย ซึ่งมาจากการสะสมที่พอกพูนของสารบางอย่างในน้ำปัสสาวะ เช่น กรดยูริก ออกซาเลต แคลเซียม ที่ไปอุดตันอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เนื้อไต และท่อไต ทำให้เกิดการกีดขวางทางเดินของน้ำปัสสาวะ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
สาเหตุ ของการเกิดนิ่วยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่ามาจากหลายประการ เช่น
1. มีการขับออกของเกลือหลายชนิด เช่น แคลเซียม ออกซาเลต ฟอสเฟตยูริก จากเลือดเข้าสู่น้ำปัสสาวะมากเกินไป
2. มีการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบ และปริมาณของน้ำปัสสาวะเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น
-
ดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะข้นจนมีการตกผลึกรวมกันของสารแคลเซียม ออกซาเลตและกลายเป็นน้ำเป็นก้อนนิ่ว
-
รับประทานอาหาร พวกผัก ผลไม้ ที่มีออกซาเลตสูง เช่น ผักโขมน้อย ผักโขมใหญ่ ใยชะพลู ผักติ้ว ผักกระโดน ผักเม็ก ฯลฯ เป็นประจำ ร่วมกับมีภาวะขาดโปรตีน ทำให้น้ำปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด - ด่าง จนเกิดการตกผลึกและรวมตัวกันของสารต่าง ๆ จนกลายเป็นก้อนนิ่ว
-
ขาดสารยับยั้งการจับตัวของผลึกของสารต่าง ๆ ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งในคนปกติจะมีสารนี้อยู่
-
มีแกนในน้ำปัสสาวะ เช่น ลิ่มเลือด ตะกอนแคลเซียม จับตัวเป็นก้อนนิ่ว หรือสายยองที่ส่วนคาในกระเพาะปัสสาวะ หรือการอักเสบของไตทำให้มีการรวมตัวของแบคทีเรียเป็นแกนให้ผลึกเกาะรวมตัวเป็นก้อนนิ่วได้ เป็นต้น
โรคนี้เป็นการติดเชื้อที่ไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจอันตรายถึงชีวิตอาจทำให้ไตวายถาวรได้
กรวยไตอักเสบเป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดได้ที่ไต 1 ข้างหรือทั้ง 2 ข้าง การติดเชื้อมักเริ่มต้นขึ้นในท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะก่อนที่จะลุกลามเข้าสู่ไต หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ไตวายเรื้อรัง และยังสามารถติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดการติดเชื้อที่อันตรายถึงชีวิตได้
อาการของโรคกรวยไตอักเสบ
อาการของโรคนี้มีได้หลายแบบขึ้นกับอายุ และปัจจัยอื่นๆ เช่น เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีอาจมีอาการแค่ไข้สูง ในขณะที่ผู้สูงอายุอาจมีอาการสับสน ซึม มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือเห็นภาพหลอนได้
อาการแสดงทั่วไปของโรคนี้ประกอบด้วย
-
ไข้
-
อาเจียน
-
ปวดหลัง สีข้าง ขาหนีบ และท้อง
-
หนาวสั่น
-
คลื่นไส้
-
ปัสสาวะบ่อย
-
ปัสสาวะแสบขัด
-
ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีหนอง
-
ปัสสาวะสีขุ่น หรือมีกลิ่นเหม็น
หากมีอาการ หรือหากรับการรักษาด้วยเรื่องติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์
การรักษาโรคกรวยไตอักเสบ
แพทย์จะทำการระบุเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ด้วยการส่งตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระหว่างที่รอผลการตรวจแพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ซึ่งครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อย และเมื่อทราบเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคแน่นอน แพทย์อาจเปลี่ยนยาปฏิชีวนะหากจำเป็น ยาปฏิชีวนะจะค่อยๆลดอาการของการติดเชื้อที่ไตในเวลาต่อมา และอาจจะต้องรับประทานยาเหล่านี้ไปนานหลายสัปดาห์ได้ เมื่อรับประทานยาครบแล้ว แพทย์อาจทำการตรวจปัสสาวะซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อซ้ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.honestdocs.com และ www.gedgoodlife.com
☘️ มุมสาระน่ารู้ TardHealth info
ความรู้เพื่อสุขภาพ รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ By TaradHealth
ข้อมูลเพิ่มเติม»
เรื่องที่คุณอาจสนใจ