รู้หรือไม่ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กฟันผุ

รู้หรือไม่ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กฟันผุ เมื่อไรก็ตามที่เด็กฟันผุ นั่นคือสัญญาณว่า สิ่งที่เด็กรับประทานส่วนใหญ่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น ขนมหวาน ลูกอม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ฯลฯ เมื่อทานแต่ของไม่มีประโยชน์เด็กก็เสี่ยงที่จะขาดสารอาหาร นาน ๆ เข้าก็เกิดภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง พัฒนาการร่างกายทำได้ไม่เต็มที่ เด็กก็จะตัวเตี้ย แคระแกร็น อีกด้านหนึ่งฟันผุ ทำให้การบดเคี้ยวอาหารของเด็กเป็นไปอย่างลำบาก เด็กก็จะกินผักกินเนื้อหรืออาหารที่มีประโยชน์ได้ยาก ก็ไม่ได้สารอาหาร ครบถ้วนตามที่ควรจะเป็นอีกเช่นกัน Read More

ผักปลอดภัย ดูอย่างไรดี?

สำหรับคนเมืองแน่นอนว่าไม่สามารถปฏิเสธการซื้อผักจากตลาดได้และเป็นเรื่องยากที่จะรู้แหล่งที่มารวม ถึงการไปซื้อผักจากแหล่งเพาะปลูกโดยตรง ดังนั้นเราจึงมาแนะนำวิธีดูผักที่ปลอดภัย ดังนี้ 1. ควรรู้จักแหล่งที่มาของผักที่ซื้อ ควรมีการรับรองแหล่งที่ปลูก หรือผู้บริโภคควรรู้จักแหล่งที่ปลูกผัก และอีกหนึ่งวิธีคือ การปลูกผักกินเอง คนเมืองสามารถทำได้แม้มีพื้นที่จำกัด ซึ่งผักที่ปลูกได้ง่ายมีทั้ง คื่นฉ่าย โหระพา กะเพรา พริกขี้หนู ผักบุ้ง เป็นต้น จะใช้กระถาง กะละมังที่ผุพังปลูกผักก็ได้   2. ผักมีรูพรุนใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป ตามหลักความเป็นจริงของการปลูกผักเพราะอาจเกิดจากการฉีดยา ฆ่าแมลงหลายครั้งแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงได้ การดมกลิ่นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ หากผักมีกลิ่นฉุนรุนแรง แสดงว่าผักมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ 3. กินผักให้ถูกต้องตามฤดูกาล เป็นวิธีที่เหมาะสมมากเพราะผักที่ปลูกตามฤดูกาลสภาพอากาศจะเอื้ออำนวย กับการเติบโตของผัก ทำให้มีการฉีดยาฆ่าแมลงน้อย อย่างเช่น ฤดูร้อน สามารถกินชะอม ถั่วพู ถั่วฝักยาวแต่ไม่ควรกิน ผักคะน้า กวางตุ้ง คื่นฉ่าย แต่ฤดูหนาวสามารถกินคะน้า บล็อกโคลี่ได้ ส่วนฤดูฝนสามารถกินได้เกือบทุกชนิดแต่ควรระวัง สารเคมีตกค้างจาก ยากันเชื้อรา เพราะฉะนั้น ควรล้างผักก่อนกินทุกครั้ง นอกจากนี้ควรหันมาบริโภคผักพื้นบ้านให้มากขึ้น เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง อย่างเช่น ตำลึง กระถิน หัวปลี สะเดา […]

สารอาหารสำคัญที่คุณแม่ต้องมี

สารอาหารสำคัญที่คุณแม่ต้องมี สารอาหารสำคัญที่คุณแม่ต้องมี การทานอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรนั้น ควรเน้นทานอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น อาทิ ไข่, เนื้อสัตว์, ถั่วต่างๆ รวมถึงผักผลไม้ที่ยังต้องทานเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโต ของร่างกาย และพัฒนาการที่สมบูรณ์ของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ของทารก โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาท ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยของร่างกาย Read More

วิธีห้ามเลือดที่ถูกต้อง

วิธีห้ามเลือดที่ถูกต้อง การห้ามเลือดโดยทั่วไป จะใช้วิธีการอยู่ 2 วิธีคือ การใช้มือกด และการใช้ผ้ากดเพื่อพันแผล ซึ่งเป็นวิธีการ ที่ใช้กันอยู่ เพียงแต่จะมีเทคนิควิธีการที่ค่อนข้างเฉพาะจุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจโดยวิธีการลงมือปฏิบัติ Read More

นวดบำบัดตัวเอง ทำได้ไม่ยาก

นวดบำบัดตัวเอง ทำได้ไม่ยาก นวด ดีอย่างไร ? ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตภายในร่างกาย ทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารอันได้แก่กระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกทั้งยังช่วยให้การขับถ่ายเป็นระบบ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใส Read More

พฤติกรรมต้นเหตุเชื้อดื้อยา

พฤติกรรมต้นเหตุเชื้อดื้อยา การดื้อยาเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินไปทำให้เชื้อแบคทีเรียมีการปรับตัว และพัฒนาตัวเองขึ้นจนกลายเป็น ซูเปอร์บัค (Super Bug) ที่ดื้อต่อยาและหายารักษาได้ยากจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต จากการติดเชื้อในที่สุด โดยปัจจุบันพบว่า ในทุก 15 นาทีมีคนไทย 1 คนตายเพราะเชื้อดื้อยา เนื่องจากมีพฤติกรรม ที่เป็นต้นเหตุของเชื้อดื้อยา ได้แก่ Read More

โปรตีน ตัวช่วยสร้างกล้ามเนื้อ

โปรตีน ตัวช่วยสร้างกล้ามเนื้อ โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และจำเป็นจะต้องมีอยู่ในอาหารทุกมื้อ โปรตีนนอกจากจะไปสร้างมวลกล้ามเนื้อแล้วยังป้องกันกระบวนการแคทาบอลิซึมของกล้ามเนื้ออันเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อถูกทำลาย ซึ่งสารอาหารชนิดนี้ก็ไม่ได้มีอยู่แค่ในเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ ในอาหารอีกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ Read More

การดูแลเท้าผู้สูงอายุ

การดูแลเท้าผู้สูงอายุ เท้า เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักตลอดชีวิตมนุษย์ตราบเท่าที่ยังเดินได้ เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อต่อ ทำให้เท้ามีรูปร่างเปลี่ยนไป อุ้งเท้าเตี้ยลงและอาจมีหัวแม่เท้าเกเข้าด้านในทำให้ปวดเท้าง่าย Read More

เริ่มเดินอย่างไร เดินที่ไหน มากเท่าไหร่

เริ่มเดินอย่างไร เดินที่ไหน มากเท่าไหร่ ควรเริ่มเดินอย่างไร? เริ่มจากการเดินช้า ค่อยๆ เดินแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบ ประมาณ 3-5 นาที เมื่อเริ่มรู้สึกชิน ก็ค่อยเพิ่มความเร็วในระดับที่พอรู้สึกเหนื่อย (คือยังพูดคุยทักทายได้ปกติ) แล้วเดินอีกราว 25-30 นาที จากนั้นในช่วงท้ายให้ชะลอความเร็วลงก่อน และเดินต่ออีก 3-5 นาทีค่อยหยุด เดินที่ไหน? เลือกสถานที่ที่สะดวก และหลีกเลี่ยงจุดที่ใกล้กับถนน ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สถานที่ที่เดินควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป เพราะร่างกายจะเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่ควรเดินในที่สูง ลาดชัน ลื่น และพื้นเป็นหลุมเป็นบ่อ เพราะเสี่ยงต่อการหกล้มหรือได้รับอันตราย เลือกพื้นสนามเรียบๆ หรือเดินในสนามหญ้าเพื่อลดแรงกระแทก เช่น สนามกีฬา หรือสวนสาธารณะ เดินมากแค่ไหนถึงจะพอ? ควรเดินให้ได้ระยะทาง 2.5-3.5 กิโลเมตรต่อวัน หรือวันละ 10,000 ก้าว แต่ถ้ารู้สึกว่าการนับก้าวยุ่งยากเกินไป ก็ขอแนะนําให้จําแบบง่ายๆ แทนว่า ควรเดิน 30นาที และบวกรวม แล้วควรเดินให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยจะทําครั้งเดียวครบหรือแบ่งทํา […]

PALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยในโรคที่รักษาไม่หาย

PALLIATIVE CARE การดูแลผู้ป่วยในโรคที่รักษาไม่หาย Palliative Care ถ้าแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า การดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดัน หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น รวมถึงทุกโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา และต้องคอยตรวจติดตาม อาการอยู่ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคในขั้นสุดท้ายที่ไม่มีแผนการรักษาแล้ว จะยิ่งต้องการการดูแลแบบ Palliative Care มากๆ Read More

1 12 13 14 15 16 28