มารู้จักสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารกันเถอะ
ในการบริโภคอาหารของคนไทยปัจจุบันมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จากการบริโภคอาหารปนเปื้อนสารเคมีและยาฆ่าแมลง พืช
อาหารสด ทั้งผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สีสันดูสดใหม่น่ารับประทาน แต่อาจแอบแฝงภัยที่ไม่ควรชะล่าใจ ซึ่งก็คือ สารเคมีตกค้างในอาหาร ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่ง สามารถติดมากับดิน น้ำ สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้อาจมีสารที่เติมลงไปเพิ่มเติม ทั้งยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าเชื้อรา รวมถึงสารปรุงแต่ง อาทิ สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมู สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารบอแรกซ์ และอีกมากมายที่หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องในปริมาณหนึ่งอาจอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิตได้
เพราะฉะนั้นจึงควรรู้จักระวังและป้องกันสารพิษที่ตกค้างในอาหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. สารเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดขึ้นจากอาหารที่มาจากพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่พบก่อน ระหว่าง และหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา ได้แก่ อะฟลาท็อกซิน สารพิษจากพืช ได้แก่ เห็ดพิษ มันสำปะหลัง สารพิษจากสัตว์ ได้แก่ พิษในหอย ปลาทะเล ปลาปักเป้าทะเล เป็นต้น
2. สารเคมีที่เติมลงในอาหารโดยเจตนา ไม่ว่าจะเพื่อการเปลี่ยนแปลงกลิ่น สี รส การเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณ ที่กฎหมายกำหนดจะปลอดภัย แต่ถ้าใช้มากเกินไปอาจเกิดอันตราย ได้แก่ สารปรุงแต่งอาหารหรือเครื่องปรุงรส อาหาร เช่น น้ำปลา น้ำส้มสายชู ผงชูรส เป็นต้น วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารเร่งเนื้อแดง สารกันรา สารฟอกสีอาหาร เป็นต้น
3. สารเคมีที่เติมลงในอาหารโดยไม่ได้เจตนาหรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ อาจติดมากับอาหาร บรรจุภัณฑ์ หรือปนเปื้อนระหว่างการผลิต ได้แก่ สารเคมีทำความสะอาด โลหะจากหมึกพิมพ์ เป็นต้น
การเลือกรับประทานอาหารนับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ารู้จักและระวังก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ค่ะ
อ้างอิง
www.thaihealth.or.th/Content/26833-ต้นแบบตลาดทางเลือก เชื่อมโยงเกษตรกร.html
เรื่องที่คุณอาจสนใจ